ประวัติความเป็นมา
ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในชุมชนท้องถิ่น ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายมีหน้าที่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย ให้คำปรึกษา และให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ประชาชนโดยในระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมาฝ่ายศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ ได้ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ทางกฎหมายและช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาในทางกฎหมายให้ได้รับความเป็นธรรมและสะสางปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ความสามัคคี และเกิดความปรองดอง ปราศจากความขัดแย้ง อย่างยั่งยืนตามพระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ที่ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่มีว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น และศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จะช่วยเหลือประชาชนท้องถิ่นในด้านกฎหมายอย่างสุดความสามารถตลอดไปเพื่อให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ตามปณิธานของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่มีว่า “ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเพื่อท้องถิ่น”
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดตั้งฝ่ายงานเหลือประชาชนทางกฎหมาย มีหน้าที่งานช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย ดำเนินงานฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นทางด้านกฎหมายในลักษณะมีค่าตอบแทนการอบรมและให้บริการไม่มีค่าตอบแทน จะต้องดำเนินงานสอดคล้องกับงานประกันคุณภาพ และดำเนินงานอื่นตามที่คณบดีมอบหมาย
1.อาจารย์สมชาย บุญคงมาก | ประธานกรรมการ |
2.อาจารย์พิชยา มณีนาวา | กรรมการและเลขานุการ |
3.นางนราวดี ถาวรานุรักษ์ | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
การให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มียุทธศาสตร์ 4 ด้าน
ด้านที่ 1 ยุทธศาสตร์เชิงรับ
ภารกิจส่วนหนึ่งของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คือ รับเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงจัดถานที่สำหรับรับเรื่องราวร้องทุกข์โดยประชาชนที่ประสงค์จะร้องทุกข์สามารถร้องทุกข์ได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ ตึกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ถนน สุราษฎร์-นาสาร 272 หมู่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือจะติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ที่เบอร์ 077-913378 ก็ได้
ด้านที่ 2 ยุทธศาสตร์เชิงรุก
เนื่องจากประชาชนบางส่วนไม่สามารถที่จะมาร้องทุกข์หรือขอคำปรึกษาทางกฎหมาย ณ ที่ทำการของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายได้ ประกอบกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายต้องการให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีความรู้ในทางกฎหมายเบื้องต้น ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงลงพื้นที่เข้าหาประชาชนในท้องถิ่น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงจัดโครงการดังนี้
2.1 จัดทำคลินิกช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเคลื่อนที่
จัดทำคลินิกช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเคลื่อนที่ เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนในชุมชน ตลอดจนรับทราบปัญหาทางกฎหมายของประชาชนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับความเป็นธรรมเพื่อศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจะนำมาแก้ไขและให้ความช่วยเหลือต่อไป โดยศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายร่วมกับฝ่ายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน เข้าร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ความรู้และแจกคู่มือทางกฎหมายสำหรับประชาชน
2.2 ให้ความรู้ทางกฎหมาย
ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นยังขาดความรู้ทางกฎหมายเป็นจำนวนมาก ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบทางคดีได้ หรือเสียสิทธิบางประการที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ ศูนย์ช่วยเหลือตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องการให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นมีความรู้กฎหมายสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือรู้ถึงสิทธิที่ประชาชนพึงจะมี ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจึงจัดให้มีการบรรยายให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนในท้องถิ่น
2.3 ทำคู่มือทางกฎหมายให้ประชาชน
คู่มือทางกฎหมายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับประชาชน เพราะทำให้ประชาชนได้เข้าใจกฎหมายเบื้องต้น รู้วิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อมีคดีเกิดขึ้น ดังนั้น ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงได้จัดทำคู่มือทางกฎหมายขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนเพื่อได้เป็นคู่มือในทางกฎหมาย
ด้านที่ 3 ยุทธศาสตร์การให้ความช่วยเหลือประชาชน
เมื่อศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมายได้รับเรื่อร้องเรียน ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายก็จะเข้าช่วยเหลือ คือ ให้คำแนะนำทางกฎหมาย ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และประสานกับเครือข่าย เช่น ยุติธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศูนย์ดำรงธรรมสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ความช่วยเหลือทางคดี หรือขอรับเงินเยียวยาความเสียหาย
ด้านที่ 4 ยุทธศาสตร์การบูรณาการ
เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงดำเนินการเชิงบูรณาการ ดังนี้
4.1 ติดตามผลการช่วยประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือจนถึงที่สุด
ประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือจากศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ทางศูนย์ช่วยเหลือจะติดตามความคืบหน้า จนถึงที่สุด
4.2 ติดตามท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้
ท้องถิ่นใดที่ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายคณะนิติศาสตร์เคยไปบรรยายให้ความรู้ทางกฎหมาย ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย จะคอยกำกับติดตาม และต่อยอด เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าใจกฎหมายและถ่ายทอดกฎหมายให้คนในชุมชนได้
4.3 ศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอก
เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปอย่างมีศักยภาพ เป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือประชาชนท้องถิ่น ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายจึงจัดให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ไปศึกษาดูงานจากหน่วยงานภายนอกที่มีศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายชั้นนำของประเทศเช่น สภาทนายความแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตยสภา
4.4 ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานจากหน่วยงานภายนอก
เพื่อให้ประชาได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ และได้รับการช่วยเหลืออย่างจากหลากหลายองค์กร ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมายจึงขอความร่วมมือจากองค์กรวิชาชีพ หรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายคณะนิติศาสตร์ จึงได้จัดทำข้อลงลงร่วมกัน (MOU) กับองค์กรต่อไปนี้
4.4.1.จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน (MOU) กับ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี