สารจาก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ผศ.เพชร ขวัญใจสกุล

ในการขับเคลื่อนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ใน ๔ ปีข้างหน้า (ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๘) ได้กำหนด วิสัยทัศน์ “สถาบันที่ผลิตนักนิติศาสตร์ให้มีอัตลักษณ์เป็นคนดีเพื่อสังคม และมีทักษะเป็นวิศวกรสังคมสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” กล่าวคือ นักนิติศาสตร์ไม่ได้แค่หมายถึงผู้ที่มีความรู้กฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีคุณลักษณะรู้รอบ มีนิติทัศนะ และมีคุณธรรม นักศึกษาและบัณฑิตของคณะนิติศาสตร์จะต้องยึดมั่นประโยชน์ส่วนร่วมที่ตั้งจึงเป็นคนดีเพื่อสังคม มีทักษะเป็นวิศวกรสังคม คือเป็นนักคิดวิเคราะห์ เป็นนักสื่อสารเจรจาได้ความ เป็นนักประสานทำงานได้กับทุกภาคส่วน และเป็นนักสร้างนวัตกรรม คิดใหม่ ทำใหม่ สร้างสิ่งใหม่เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ทั้งนี้จะต้องยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้และมีคุณธรรม คณะได้กำหนดอัตลักษณ์ให้เป็นนักนิติศาสตร์ที่มีทักษะเป็นวิศวกรสังคม โดยยึดหลัก LAWSRU model คือ คณะจะปลูกฝั่งจิตสำนึกในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบมุ่งไปสู่ความเป็นสากล โดยมีเอกลักษณ์เป็นบัณฑิตนิติศาสตร์มีคุณลักษณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น นำองค์ความรู้สู่ชุมชนได้อย่างกลมกลื่นผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวได้ ซึ่งเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า เราจะคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

[wpdm_package id=6234 template=”link-template-calltoaction3.php”]

ในส่วนบริหารคณะ เราจะบริหารตามพันธกิจ ๔ ด้าน ดังนี้

๑) พันธกิจด้านผลิตบัณฑิต

โดยมีสาระสำคัญในการวางรากฐานในการมีนิติทัศนะ รู้รอบ และมีคุณธรรมจริยธรรมของนักกฎหมาย มุ่งเน้นทักษะภาคปฏิบัติ พัฒนาหลักสูตรUpskill และ Reskill สร้างหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ และจะสร้างหลักสูตรความร่วมมือ(MOU)กับภาครัฐและเอกชน

๒) พันธกิจด้านวิจัย

โดยจะให้ความสำคัญวิจัยประเด็นจุดเน้นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการวิจัยทางกฎหมายเพื่อความเข้มแข็งในศาสตร์ และวิจัยทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเล

๓) พันธกิจด้านบริการวิชาการ

โดยพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการพัฒนาชุมชน และสร้างการต่อยอด ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย

๔) พันธกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

โดยส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ตลอดจนหลักคำสอนท่านพุทธทาสในมิติด้านกฎหมาย และจะให้ความสำคัญในการศึกษาระบบกฎหมายและระบบพิจารณาคดีจากวรรณคดีไทย และวรรณกรรมทักษิณ

ในส่วนนโยบายคณะจะบริหารงานในภายหน้าด้วยนโยบาย ๔ ด้าน ดังนี้

๑) นโยบายการบริการท้องถิ่น

จะให้ความสำคัญในการบูรณาการการเรียนการสอน สร้างและพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการและชุมชนพื้นที่ ยึดหลักคำสอนท่านพุทธทาสมาประยุกต์ใช้ในมิติกฎหมาย สร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อศึกษาและพัฒนากฎหมาย และสร้างระบบกลไกให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย

๒) นโยบายครูกฎหมาย

จะให้ความสำคัญในการพัฒนาครูกฎหมายให้เป็นมืออาชีพและเป็นครูต้นแบบที่มีจิตวิณญาณความเป็นครู พัฒนาองค์ความรู้ทางกฎหมายการศึกษาให้แก่บุคลากรทางการศึกษา และถ่ายทอดสู่ภายนอกผ่านโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ

๓) นโยบายยกระดับการศึกษา

จะให้ความสำคัญให้นักศึกษาและบัณฑิตมีคุณลักษณะเป็นนักนิติทัศนะ เป็นผู้ที่รู้รอบ และเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในวิชานิติศาสตร์ ที่เน้นภาคปฏิบัติเพื่อให้มีทักษะในการทำหน้าที่วิศวกรสังคม พัฒนาผู้สอนมีทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีในการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานวิชาการและระบบประกันคุณภาพการศึกษา

๔) นโยบายการบริหารจัดการ

จะให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาอัตราการออกกลางคันของนักศึกษา ไม่เกินร้อยละ ๑๐ พัฒนาคณะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต บริหารคณะยึดหลักธรรมาภิบาล และสร้างอัตลักษณ์ความเป็นนิติศาสตร์และภาพลักษณ์องค์กรตามหลัก LAWSRU

คณะมีหน้าที่นำนโยบายจากสภาและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม จนเกิดวิสัยทัศน์ ๔ พันธกิจ ๔ นโยบาย ที่กล่าวแล้วข้างต้น เราจะทำงานให้ประสบความสำเร็จ บนพื้นฐานแห่งความสุขที่อยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของทีมบริหารคณะที่จะยึดหลักความถูกต้อง ยึดประโยชน์นักศึกษา คณะ และมหาวิทยาลัยเป็นที่ตั้ง พร้อมกับความร่วมมือจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ บุคลากรสายสนับสนุน นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต และทุกภาคส่วน เชื่อมั่นว่าเราสามารถขับเคลื่อนคณะให้ก้าวหน้ามีความเข้มแข็งทางวิชาการต่อไป