วิสัยทัศน์ :
“สถาบันที่ผลิตนักนิติศาสตร์ให้มีอัตลักษณ์เป็นคนดีเพื่อสังคม และทักษะเป็นวิศวกรสังคมสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
อัตลักษณ์ :
“นักนิติศาสตร์ที่มีทักษะเป็นวิศวกรสังคม”
เอกลักษณ์ :
“บัณฑิตมีคุณลักษณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
พันธกิจ
- ผลิตบัณฑิตนักนิติศาสตร์ให้มีความรู้คู่คุณธรรมเป็นคนดีเพื่อสังคม มีทักษะเป็นนักกฎหมายวิศกรสังคมที่มีทักษะในการวิเคราะห์ สื่อสาร ทำงานเป็นทีมสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้ เป็นนักกฎหมายภาคปฏิบัติ รู้จริง ทำงานเป็น
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีงานวิจัยทางกฎหมายที่สร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- บริการวิชาการที่สอดคล้องความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และนำมาใช้ประโยชน์กับการเรียนการสอน การจัดทำหลักสูตร สร้างเครือข่าย ตลอดจนขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไป
- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ภูมิปัญญาไทย ตลอดจนหลักคำสอนท่านพุทธทาสภิกขุในมิติด้านกฎหมาย
- บริหารจัดการบุคคลและทรัพย์กรการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โปร่งใส ตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
นโยบายคณะนิติศาสตร์
นโยบายที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น
(1) น้อมนำศาสตร์พระราชาและโครงการพระราชดำริ บูรณาการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมตอบโจทย์ประเทศสู่อนาคตสามารถนำองค์ความรู้พัฒนาชุมชนท้องถิ่นและแก้ปัญหาสังคมได้
(2) สร้างและพัฒนาสร้างเครือข่ายทางวิชาการและชุมชนพื้นที่โดยนำองค์ความรู้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ต่อยอดโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
(3) ปลูกฝั่งค่านิยม วัฒนธรรมที่ดี และการมีส่วนรวมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ภูมิปัญญาไทย ตลอดจนหลักคำสอนท่านพุทธทาสภิกขุในมิติด้านกฎหมายเพื่อเผยแพร่และภูมิใจในระดับชาติและนานาชาติ
(4) สร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อการศึกษา การวิจัย ในประเด็นกฎหมาย 6 ด้าน ประกอบด้วย การพัฒนากฎหมายเกษตรและอาหารแปรรูป การพัฒนากฎหมายการท่องเที่ยว การพัฒนากฎหมายการศึกษา การพัฒนากฎหมายธุรกิจและโลจิสติกส์ และการพัฒนากฎหมายดิจิทัลเพื่อสังคม
นโยบายที่ 2 พัฒนาครูกฎหมาย
(1) พัฒนาสมรรถนะอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษให้เป็นครูกฎหมายมืออาชีพและมีจิตวิญาณความเป็นครู เป็นต้นแบบให้นักศึกษาภูมิใจและเดินรอยตาม
(2) พัฒนาศักยภาพครูและบุคคลากรทางการศึกษาให้มีองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายการศึกษา ตลอดจนให้มีการถ่ายถอดองค์ความรู้สู่ภายนอก
นโยบายที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษา
(1) พัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักกฎหมายภาคปฏิบัติที่รู้จริงและปฏิบัติได้ มีทักษะวิศกรสังคม สร้างจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ทักษะดิจิทัล และทักษะการใช้ชีวิตให้เป็นคนดีเพื่อสังคม
(2) พัฒนาผู้สอนให้มีคุณลักษณะที่เป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีทักษะการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีทักษะในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
(3) พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรหลักสูตรสะสมหน่วยกิต ที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง Upskill และ Reskill พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทุกช่วงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย หลักสูตรกฎหมายเกษตรและอาหารแปรรูป หลักสูตรกฎหมายการท่องเที่ยว หลักสูตรกฎหมายการศึกษา หลักสูตรกฎหมายธุรกิจและโลจิสติกส์ และหลักสูตรกฎหมายดิจิทัลเพื่อสังคม ตลอดจนพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่/ออนไลน์/SRU MOOOCs
(4) พัฒนาคุณภาพคุณภาพการศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานการอุดมศึกษา และประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เรื่อง มาตราฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานวิชาชีพเนติบัณฑิตยสภาและสภาทนายความ และกรอบมาตรฐานงานประกันคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
นโยบายที่ 4 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
(1) แก้ปัญหาอัตราการออกกลางคันของนักศึกษาให้ลดลงเป็นรูปธรรม มุ่งสู่เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 10 และสร้างช่องทางการเพิ่มรายได้ สร้างความสามารถในการระดมทุน จัดการทรัพยากรทางการบริหารให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
(2) พัฒนาคณะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มบทบาทการเป็นคณะเพื่อท้องถิ่นเป็นที่พึ่งทางวิชาการชุมชนท้องถิ่น ให้ความสำคัญการบูรณาการการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่น
(3) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนดีและคนเก่ง พัฒนาระบบบริหารจัดการบุคคลและทรัพย์กรการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โปร่งใส ตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล ด้วยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมภูมิใจ
(4) สร้างนวัตกรรมองค์กรให้มีความรักความสามัคคีและความสมานฉันท์ในองค์กร โดยสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของบุคลากร นักศึกษา และสาธารณชนที่มีต่อคณะโดยยึดหลัก LAW SRU
แนวทางพัฒนาคณะนิติศาสตร์ใน 4 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2564 –2568)
เป้าหมาย “คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
วัตถุประสงค์ของแผน
- เพื่อผลิตบัณฑิตนักนิติศาสตร์ให้เป็นนักกฎหมายภาคปฏิบัติ รู้จริง ทำงานเป็น มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นคนดีเพื่อสังคม มีทักษะเป็นนักกฎหมายวิศกรสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
- เพื่อให้มีงานวิจัยทางกฎหมายที่สร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- เพื่อให้มีการบริการวิชาการที่สอดคล้องความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และนำมาใช้ประโยชน์กับการเรียนการสอน การจัดทำหลักสูตร สร้างเครือข่าย
- เพื่อให้มีการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทย ภูมิปัญญาไทย ตลอดจนหลักคำสอนท่านพุทธทาสภิกขุในมิติด้านกฎหมาย
- เพื่อให้มีการบริหารจัดการบุคคลและทรัพย์กรการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โปร่งใส ตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
ตัวชี้วัดผลสำเร็จของวัตถุประสงค์ตามแผน
- เป็นสถาบันที่ผลิตนักนิติศาสตร์ให้มีอัตลักษณ์เป็นคนดีเพื่อสังคม
- นักศึกษาทักษะเป็นวิศวกรสังคม
- สร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง