ข้อบังคับ

สมาคมศิษย์เก่านิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

หมวดที่ 1

ความทั่วไป

ข้อ 1. สมาคมนี้ชื่อว่า สมาคมศิษย์เก่านิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ใช้ชื่อย่อว่า“สก.มรส.”เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “FACUILTY OF LAW SURATTHANI RAJABHAT UNIVERSITYALUMNI ASSOCIATION”

ข้อ 2. สมาคมนี้ตั้ง ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เครื่องหมายของสมาคม คือ

ข้อ 3. วัตถุประสงค์ของสมาคม คือ

(1) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของคณะนิติศาสตร์

(2) ส่งเสริมความร่วมมือและเผยแพร่วิทยาการทางด้านนิติศาสตร์ ระหว่างสมาชิกกับสมาคมหรือสถาบันทางกฎหมาย

(3) บำเพ็ญสาธารณประโยชน์การกุศลสาธารณะแก่ท้องถิ่นและสังคม

(4) สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ และธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกียรติคุณของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

(5) บริการวิชาการนิติศาสตร์แก่สังคมและท้องถิ่น

(6) สมาคมนี้ตั้งขึ้นเพื่อสาธารณะประโยชน์ไม่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและไม่แสวงหาผลกำไร

(7) สมาคมนี้จะไม่มีการจัดตั้งโต๊ะสนุกเกอร์ และบิลเลียด

หมวดที่ 2

สมาชิก

ข้อ 4. สมาชิกของสมาคมนี้มี 3ประเภท คือ

(1) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ซึ่งคณะกรรมการเชิญเข้าเป็นสมาชิกเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาคมด้วยคะแนน เสียง 2 ใน 3 ของคณะกรรมการที่เข้าประชุม

(2) สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

(3) สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ บุคลากร และนักศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ข้อ 5. ผู้สมัครเป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญต้องยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อ นายทะเบียน และผู้นั้นจะเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์นับแต่วันที่นายทะเบียนจดแจ้งชื่อใน ทะเบียนสมาชิก

ข้อ 6. สมาชิกจะต้องเสียค่าจดทะเบียนในการสมัครเป็นสมาชิกคนละ 50 บาทโดยชำระพร้อมกับการยื่นคำขอสมัครเป็นสมาชิก

-สมาชิกสามัญเสียค่าบำรุงปีละ 100 บาท หรือตลอดชีพ1,000 บาท

-สมาชิกวิสามัญเสียค่าบำรุงปีละ 50 บาท

ให้ คณะกรรมการ มีอำนาจกำหนดวิธีชำระบำรุงหรือเปลี่ยนแปลงอัตราค่าสมัครและค่าบำรุงได้ตาม ที่เห็นสมควรไว้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสมาชิกที่ ได้สมัครและชำระค่าบำรุงไว้แล้ว

ข้อ 7. สมาชิกมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาคมจักอำนวยให้ได้

ข้อ 8.สมาชิกอาจแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการของสมาคม

ข้อ 9. สมาชิกมีสิทธิที่จะเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญ และประชุมใหญ่วิสามัญ ทั้งมีสิทธิขอรับทราบหรือตรวจดูกิจการ การบัญชี การเงิน การทะเบียน ของสมาคม

ข้อ 10. สมาชิกมีหน้าที่ดังต่อไปนี้คือ

(1)ปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบของสมาคม

(2)ต้องรักษาคุณธรรมความดีงาม และไม่ประพฤติเสี่ยมเสีย

(3)ช่วยส่งเสริมและร่วมมือในกิจการของสมาคมให้เจริญก้าวหน้า

ข้อ 11. สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเมื่อ

(1)ตาย

(2)ลาออก

(3) ไม่ชำระค่าบำรุงรักษาติดต่อกัน 2 ปี

(4) คณะกรรมการมีมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียน

ข้อ 12. สมาชิกผู้ใดประสงค์จะลาออกจากสมาชิกภาพก็ย่อมทำได้โดยแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือ

ข้อ 13. สมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพนั้นมีสิทธิยื่นคำขอเป็นสมาชิกได้อีกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ขาดจากสมาชิกภาพ และกรณีคณะกรรมการได้พิจารณาคำขอและไม่ยอมรับ ผู้นั้นเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ผู้นั้นอาจยื่นคำขอได้อีกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คณะกรรมการวินิจฉัยไม่ยอมรับเป็นสมาชิก

ข้อ 14. คะแนนเสียงของคณะกรรมการในการลงชื่อของสมาชิก ต้องมีจำนวน 3 ใน4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

หมวดที่ 3

การดำเนินกิจการสมาคม

ข้อ 15.ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมมีจำนวนอย่างน้อยสิบคน อย่างมากไม่เกินยี่สิบคน คณะกรรมการนี้ต้องเป็นสมาชิกสามัญที่ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ ของสมาคม และให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกันเองเป็นนายก 1 คน และอุปนายก 3 คน สำหรับตำแหน่งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆของสมาคมตามที่ได้ กำหนดไว้ ซึ่งตำแน่งของกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังนี้

1. นายกสมาคม มีหน้าที่ควบคุมการบริหารสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นผู้ลงนามแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการหรืออนุกรรมการต่างๆของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก และเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร และการประชุมใหญ่

2. อุปนายก มีหน้าที่ทำการแทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถทำการได้ รวมทั้งงานอื่นๆ ที่นายกสมาคมมอบหมาย

3. เลขาธิการ มีหน้าที่กำกับดูแลงานธุรการของสมาคม นัดประชุม จัดเตรียมวาระการประชุมและจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารและการ ประชุมใหญ่ และดำเนินงานหรือกิจการอื่นๆ ของสมาคมที่มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการอื่นโดยเฉพาะ

4. เหรัญญิก มีหน้าที่รับจ่ายและรักษาเงิน ทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเงิน

5. นายทะเบียน มีหน้าที่จัดทำทะเบียนสมาชิก และจดให้มีการลงทะเบียนเมื่อมีการประชุมใหญ่

6. กรรมการอื่นๆ มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย การประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนจึงเป็นองค์ประชุม

ข้อ 16. สมาชิกสามัญที่จะรับเลือกตั้งเป็นนายกหรือกรรมการของสมาคมจะต้องอยู่ในที่ ประชุมใหญ่หรือได้ความจำนงเป็นหนังสือต่อที่ประชุมใหญ่โดยได้ยื่นต่อ เลขาธิการไว้แล้ว

ข้อ 17. นายกหรือกรรมการของสมาคม ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี แต่จะได้รับเลือกตั้งเป็น นายกหรือกรรมการเกินกว่า 2วาระติดต่อกันมิได้

ข้อ 18. ภายใต้บังคับของข้อ 14มติของคณะกรรมการที่ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด

การลงคะแนนเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการ ให้ใช้วิธีชูมือ แต่ถ้ากรรมการ 2 คนร้องขอ ก็ให้ประธานสั่งการไห้ลงคะแนนรับได้

ข้อ 19. นายกหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1) ตาย

(2) ครบวาระ

(3) ลาออก

(4) ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพ

ถ้า นายกพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งรักษาการแทนจนกว่าที่ประชุมใหญ่ จะทำการเลือกตั้งนายกขึ้นใหม่และให้อยู่ในตำแหน่ง ได้เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

ถ้า กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้กรรมการแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับคะแนนถัดไปเป็นกรรมการแทน โดยให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

ข้อ 20. คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารสมาคม

หมวดที่ 4

การประชุมใหญ่

ข้อ 21. การประชุมมี 3 ลักษณะดังนี้

21.1 การประชุมใหญ่ ได้แก่ การประชุมสมาชิก เพื่อเลือกตั้งนายกสมาคม การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม หรือการกำหนดตำแหน่งกรรมการเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด

21.2 การประชุมสามัญประจำปี ได้แก่ การประชุมสมาชิก ประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือ กำหนดวิธีการและการแก้ปัญหาต่างๆการรายงานกิจการ และฐานะทางการเงินของสมาคม

21.3 การประชุมวิสามัญ คณะกรรมการบริหารสมาคมย่อมมีมติให้เชิญประชุมสมาชิกตามโอกาสที่จำเป็นและเหมาะสมได้

ข้อ 22. การเรียกประชุมสมาชิก ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งเชิญประชุมให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

ข้อ 23. มติที่ประชุมใช้เสียงข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการประชุมลักษณะใดก็ตาม

ข้อ 24. คณะกรรมการจะต้องจัดให้การประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกรกฎาคมของทุกปี

ข้อ 25. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้

25.1 แถลงกิการที่ผ่านมาในรอบปี

25.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ

25.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดวาระ

25.4 เลือกตั้งผู้สอบบัญชี ถ้ามี

25.5 เรื่องอื่นๆ ถ้าที

หมวดที่ 5

การเงินและทรัพย์สิน

ข้อ 26. สมาคมมีรายได้จากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

26.1 จากค่าธรรมเนียมสมาชิก

26.2 จากเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค

26.3 จากเงินอุดหนุนของมหาวิทยาลัย

26.4 จากการจัดกิจกรรมของสมาคม

26.5 จากรายได้อื่นๆ

ข้อ 27. การเงินของสมาคมให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

ข้อ 28. ให้คณะกรรมการบริหารสมาคมรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินและการบัญชีและมีหน้าที่ จัดทำบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน ของสมาคมให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และมีหน้าที่เสนอให้ผู้ตรวจบัญชีของสมาคมตรวจสอบและรับรองให้ถูกต้อง

ข้อ 29. เงินของสมาคมให้ฝากไว้ในสถาบันการเงินในนามของสมาคม

– ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บเงินสดไว้ในมือเพื่อใช้จ่ายไม่เกินคราวละ 10,000 บาท
–  นายกและเหรัญญิกของสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินไม่เกินคราวละ 50,000 บาท หากเกิน
กว่า 50,000 บาท จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการก่อนจึงจะสั่งจ่ายได้

ข้อ 30. การกำหนดรอบปีบัญชีให้เป็นไปตามปีปฏิทิน

ข้อ 31. คณะกรรมการบริหารสมาคม ต้องจัดทำรายงานแจ้งฐานะทางการเงินของสมาคมให้สมาชิกทราบ ก่อนมีการประชุมสามัญประจำปี

หมวดที่ 6

การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

ข้อ 32. คณะกรรมการบริหารสมาคม หรือสมาชิกไม่น้อยกว่า 30 คน มีสิทธิ์ยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม โดยระบุสาระ หลักการ และเหตุผลในการขอแก้ไข

ข้อ 33. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ จะต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่และจะต้องได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนน เสียงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มาประชุม

ข้อ 34. สมาคมนี้จะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด

ข้อ 35. เมื่อเลิกสมาคมแล้ว ให้ทรัพย์สินของสมาคมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อใช้เป็นกิจการของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

หมวดที่ 7

บทเฉพาะกาล

ข้อ 36. ให้คณะผู้เริ่มการก่อตั้งสมาคมดังปรากฎรายชื่อในคำขอจดทะเบียนสมาคม ทำหน้าที่และรักษาการคณะกรรมการจนกว่าจะได้เลือกตั้งคณะกรรมการชุดแรกขึ้น

ข้อ 37. ให้คณะผู้เริ่มก่อการดำเนินการรับสมัครสมาชิกและเรียกประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน180วัน นับจากวันจดทะเบียนสมาคม

ข้อบังคับ

สมาคมศิษย์เก่านิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

หมวดที่ 1

ความทั่วไป

ข้อ 1. สมาคมนี้ชื่อว่า สมาคมศิษย์เก่านิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ใช้ชื่อย่อว่า“สก.มรส.”เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “FACUILTY OF LAW SURATTHANI RAJABHAT UNIVERSITYALUMNI ASSOCIATION”

ข้อ 2. สมาคมนี้ตั้ง ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เครื่องหมายของสมาคม คือ

ข้อ 3. วัตถุประสงค์ของสมาคม คือ

(1) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของคณะนิติศาสตร์

(2) ส่งเสริมความร่วมมือและเผยแพร่วิทยาการทางด้านนิติศาสตร์ ระหว่างสมาชิกกับสมาคมหรือสถาบันทางกฎหมาย

(3) บำเพ็ญสาธารณประโยชน์การกุศลสาธารณะแก่ท้องถิ่นและสังคม

(4) สนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ และธำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกียรติคุณของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

(5) บริการวิชาการนิติศาสตร์แก่สังคมและท้องถิ่น

(6) สมาคมนี้ตั้งขึ้นเพื่อสาธารณะประโยชน์ไม่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและไม่แสวงหาผลกำไร

(7) สมาคมนี้จะไม่มีการจัดตั้งโต๊ะสนุกเกอร์ และบิลเลียด

หมวดที่ 2

สมาชิก

ข้อ 4. สมาชิกของสมาคมนี้มี 3ประเภท คือ

(1) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ซึ่งคณะกรรมการเชิญเข้าเป็นสมาชิกเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาคมด้วยคะแนน เสียง 2 ใน 3 ของคณะกรรมการที่เข้าประชุม

(2) สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

(3) สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ บุคลากร และนักศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ข้อ 5. ผู้สมัครเป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญต้องยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อ นายทะเบียน และผู้นั้นจะเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์นับแต่วันที่นายทะเบียนจดแจ้งชื่อใน ทะเบียนสมาชิก

ข้อ 6. สมาชิกจะต้องเสียค่าจดทะเบียนในการสมัครเป็นสมาชิกคนละ 50 บาทโดยชำระพร้อมกับการยื่นคำขอสมัครเป็นสมาชิก

-สมาชิกสามัญเสียค่าบำรุงปีละ 100 บาท หรือตลอดชีพ1,000 บาท

-สมาชิกวิสามัญเสียค่าบำรุงปีละ 50 บาท

ให้ คณะกรรมการ มีอำนาจกำหนดวิธีชำระบำรุงหรือเปลี่ยนแปลงอัตราค่าสมัครและค่าบำรุงได้ตาม ที่เห็นสมควรไว้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสมาชิกที่ ได้สมัครและชำระค่าบำรุงไว้แล้ว

ข้อ 7. สมาชิกมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาคมจักอำนวยให้ได้

ข้อ 8.สมาชิกอาจแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการของสมาคม

ข้อ 9. สมาชิกมีสิทธิที่จะเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญ และประชุมใหญ่วิสามัญ ทั้งมีสิทธิขอรับทราบหรือตรวจดูกิจการ การบัญชี การเงิน การทะเบียน ของสมาคม

ข้อ 10. สมาชิกมีหน้าที่ดังต่อไปนี้คือ

(1)ปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบของสมาคม

(2)ต้องรักษาคุณธรรมความดีงาม และไม่ประพฤติเสี่ยมเสีย

(3)ช่วยส่งเสริมและร่วมมือในกิจการของสมาคมให้เจริญก้าวหน้า

ข้อ 11. สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเมื่อ

(1)ตาย

(2)ลาออก

(3) ไม่ชำระค่าบำรุงรักษาติดต่อกัน 2 ปี

(4) คณะกรรมการมีมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียน

ข้อ 12. สมาชิกผู้ใดประสงค์จะลาออกจากสมาชิกภาพก็ย่อมทำได้โดยแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือ

ข้อ 13. สมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพนั้นมีสิทธิยื่นคำขอเป็นสมาชิกได้อีกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ขาดจากสมาชิกภาพ และกรณีคณะกรรมการได้พิจารณาคำขอและไม่ยอมรับ ผู้นั้นเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ผู้นั้นอาจยื่นคำขอได้อีกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คณะกรรมการวินิจฉัยไม่ยอมรับเป็นสมาชิก

ข้อ 14. คะแนนเสียงของคณะกรรมการในการลงชื่อของสมาชิก ต้องมีจำนวน 3 ใน4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

หมวดที่ 3

การดำเนินกิจการสมาคม

ข้อ 15.ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมมีจำนวนอย่างน้อยสิบคน อย่างมากไม่เกินยี่สิบคน คณะกรรมการนี้ต้องเป็นสมาชิกสามัญที่ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ ของสมาคม และให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกันเองเป็นนายก 1 คน และอุปนายก 3 คน สำหรับตำแหน่งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆของสมาคมตามที่ได้ กำหนดไว้ ซึ่งตำแน่งของกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังนี้

1. นายกสมาคม มีหน้าที่ควบคุมการบริหารสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นผู้ลงนามแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการหรืออนุกรรมการต่างๆของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอก และเป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร และการประชุมใหญ่

2. อุปนายก มีหน้าที่ทำการแทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถทำการได้ รวมทั้งงานอื่นๆ ที่นายกสมาคมมอบหมาย

3. เลขาธิการ มีหน้าที่กำกับดูแลงานธุรการของสมาคม นัดประชุม จัดเตรียมวาระการประชุมและจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารและการ ประชุมใหญ่ และดำเนินงานหรือกิจการอื่นๆ ของสมาคมที่มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการอื่นโดยเฉพาะ

4. เหรัญญิก มีหน้าที่รับจ่ายและรักษาเงิน ทำบัญชีและเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการเงิน

5. นายทะเบียน มีหน้าที่จัดทำทะเบียนสมาชิก และจดให้มีการลงทะเบียนเมื่อมีการประชุมใหญ่

6. กรรมการอื่นๆ มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย การประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนจึงเป็นองค์ประชุม

ข้อ 16. สมาชิกสามัญที่จะรับเลือกตั้งเป็นนายกหรือกรรมการของสมาคมจะต้องอยู่ในที่ ประชุมใหญ่หรือได้ความจำนงเป็นหนังสือต่อที่ประชุมใหญ่โดยได้ยื่นต่อ เลขาธิการไว้แล้ว

ข้อ 17. นายกหรือกรรมการของสมาคม ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี แต่จะได้รับเลือกตั้งเป็น นายกหรือกรรมการเกินกว่า 2วาระติดต่อกันมิได้

ข้อ 18. ภายใต้บังคับของข้อ 14มติของคณะกรรมการที่ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด

การลงคะแนนเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการ ให้ใช้วิธีชูมือ แต่ถ้ากรรมการ 2 คนร้องขอ ก็ให้ประธานสั่งการไห้ลงคะแนนรับได้

ข้อ 19. นายกหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1) ตาย

(2) ครบวาระ

(3) ลาออก

(4) ขาดจากการเป็นสมาชิกภาพ

ถ้า นายกพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งรักษาการแทนจนกว่าที่ประชุมใหญ่ จะทำการเลือกตั้งนายกขึ้นใหม่และให้อยู่ในตำแหน่ง ได้เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

ถ้า กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้กรรมการแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับคะแนนถัดไปเป็นกรรมการแทน โดยให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

ข้อ 20. คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารสมาคม

หมวดที่ 4

การประชุมใหญ่

ข้อ 21. การประชุมมี 3 ลักษณะดังนี้

21.1 การประชุมใหญ่ ได้แก่ การประชุมสมาชิก เพื่อเลือกตั้งนายกสมาคม การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม หรือการกำหนดตำแหน่งกรรมการเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด

21.2 การประชุมสามัญประจำปี ได้แก่ การประชุมสมาชิก ประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือ กำหนดวิธีการและการแก้ปัญหาต่างๆการรายงานกิจการ และฐานะทางการเงินของสมาคม

21.3 การประชุมวิสามัญ คณะกรรมการบริหารสมาคมย่อมมีมติให้เชิญประชุมสมาชิกตามโอกาสที่จำเป็นและเหมาะสมได้

ข้อ 22. การเรียกประชุมสมาชิก ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งเชิญประชุมให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

ข้อ 23. มติที่ประชุมใช้เสียงข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการประชุมลักษณะใดก็ตาม

ข้อ 24. คณะกรรมการจะต้องจัดให้การประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกรกฎาคมของทุกปี

ข้อ 25. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้

25.1 แถลงกิการที่ผ่านมาในรอบปี

25.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ

25.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดวาระ

25.4 เลือกตั้งผู้สอบบัญชี ถ้ามี

25.5 เรื่องอื่นๆ ถ้าที

หมวดที่ 5

การเงินและทรัพย์สิน

ข้อ 26. สมาคมมีรายได้จากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

26.1 จากค่าธรรมเนียมสมาชิก

26.2 จากเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค

26.3 จากเงินอุดหนุนของมหาวิทยาลัย

26.4 จากการจัดกิจกรรมของสมาคม

26.5 จากรายได้อื่นๆ

ข้อ 27. การเงินของสมาคมให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

ข้อ 28. ให้คณะกรรมการบริหารสมาคมรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินและการบัญชีและมีหน้าที่ จัดทำบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน ของสมาคมให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และมีหน้าที่เสนอให้ผู้ตรวจบัญชีของสมาคมตรวจสอบและรับรองให้ถูกต้อง

ข้อ 29. เงินของสมาคมให้ฝากไว้ในสถาบันการเงินในนามของสมาคม

– ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บเงินสดไว้ในมือเพื่อใช้จ่ายไม่เกินคราวละ 10,000 บาท
–  นายกและเหรัญญิกของสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินไม่เกินคราวละ 50,000 บาท หากเกิน
กว่า 50,000 บาท จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการก่อนจึงจะสั่งจ่ายได้

ข้อ 30. การกำหนดรอบปีบัญชีให้เป็นไปตามปีปฏิทิน

ข้อ 31. คณะกรรมการบริหารสมาคม ต้องจัดทำรายงานแจ้งฐานะทางการเงินของสมาคมให้สมาชิกทราบ ก่อนมีการประชุมสามัญประจำปี

หมวดที่ 6

การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

ข้อ 32. คณะกรรมการบริหารสมาคม หรือสมาชิกไม่น้อยกว่า 30 คน มีสิทธิ์ยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม โดยระบุสาระ หลักการ และเหตุผลในการขอแก้ไข

ข้อ 33. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ จะต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่และจะต้องได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนน เสียงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มาประชุม

ข้อ 34. สมาคมนี้จะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด

ข้อ 35. เมื่อเลิกสมาคมแล้ว ให้ทรัพย์สินของสมาคมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อใช้เป็นกิจการของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

หมวดที่ 7

บทเฉพาะกาล

ข้อ 36. ให้คณะผู้เริ่มการก่อตั้งสมาคมดังปรากฎรายชื่อในคำขอจดทะเบียนสมาคม ทำหน้าที่และรักษาการคณะกรรมการจนกว่าจะได้เลือกตั้งคณะกรรมการชุดแรกขึ้น

ข้อ 37. ให้คณะผู้เริ่มก่อการดำเนินการรับสมัครสมาชิกและเรียกประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน180วัน นับจากวันจดทะเบียนสมาคม